วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยี Web 3.0

เทคโนโลยี Web 3.0

· บทนำ
ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของสื่อดิจิตอล โลกอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการประยุกต์ใช้งานไอที เพราะอินเทอร์เน็ตช่วยให้ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารรอบโลกได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ติดต่อกับคนหรือหน่วยงานภายในและนอกประเทศได้ภายในพริบตา ผู้บริโภคได้ให้นิยามของสื่อใหม่ต่างๆในวันนี้ว่า ดิจิตอลคอนเท็นต์ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (View, Create, Copy, Share, Etc.) ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยอุปกรณ์ใดๆ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก้าวต่อไปของสื่อใหม่จะเป็นการเชื่อมโยงและผสมผสานระหว่างดิจิตอลคอนเท็นต์เหล่านั้นเข้าด้วยกันที่เรียกว่า Mash Up อันเป็นพื้นฐานของเว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดรู้ หรือ มี AI สามารถค้นหา และคาดเดาความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนได้ อุปกรณ์ไอที Gadget ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นNotebook, Netbook, Smart Phone, MID (Mobile Internet Device), Digital Photo frame, e-book หรือแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Digital home appliance) จะได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดในการทำงานมากขึ้น ทั้งขนาด คุณสมบัติการทำงาน และราคา ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องทำความรู้จักกับที่มา วิวัฒนาการ ลักษณะการทำงานใหม่ๆ ของ Web 3.0 ให้เข้าใจตรงกัน

· ยุคของเว็บไซต์
จากเนื้อหาบางส่วนของ Blog spotting ในแมกกาซีน Business Week Onlineได้กล่าวถึงลักษณะเด่นของเว็บแต่ละยุคไว้ดังต่อไปนี้
Web 1.0 = Read only, static data with simple markup
Web 2.0 = Read/Write, dynamic data through web services
Web 3.0 = Read/Write/Relate, data with structured metadata + managed identity
“Some people say that web 2.0 is the network as a OS. By the time of web 3.0 we should have the web behaving more like a single application with many features then an OS with many apps. Posted by: Addi at October 25, 2006 07:05 PM”

Web 1.0 - เว็บไซต์ในยุคนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของผู้ให้บริการเว็บไซต์ เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาจะมีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสือ คือ ผู้สนใจเข้ามาอ่านข้อมูลต่างๆ ได้เพียงอย่างเดียว ไม่มีส่วนร่วมในการนำเสนอหรือมีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย
Web 2.0 - ในยุคนี้ ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถสร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่างๆ มีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน อย่างเช่น เว็บสารานุกรมออนไลน์ Wikipedia ได้ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคล ทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้น เมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาเป็นเวลายาวนาน หรือการแชร์ไฟล์มัลติมีเดียใน Youtube เป็นต้น นอกจากนี้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือบุคคลทั่วไปยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูล หรือสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์มีความสมบูรณ์และมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด
Web 3.0 - เป็นการเพิ่มแนวความคิดในการจัดการข้อมูลซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมายมหาศาลจากผลพ่วงของเว็บในยุค Web 2.0 ทำให้เว็บต่างๆ ต้องมีระบบบริหารจัดการเว็บให้ดีขึ้น ง่ายขึ้น ด้วยรูปแบบ metadata ซึ่งก็คือ การนำข้อมูลมาบอกรายละเอียดของข้อมูล หรือ data about data โดยระบบเว็บจะจัดการค้นหาข้อมูลให้เราเองหรืออาจกล่าวโดยสรุปง่ายๆ ว่า


Web 1.0 = อ่านอย่างเดียว, ข้อมูลที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ด้วยการใช้ Markup แบบง่ายๆ
Web 2.0 = อ่าน/เขียน, ข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว รวมทั้งการบริการทางเว็บ (\Web Services)
Web 3.0 = อ่าน/เขียน/ความเกี่ยวข้อง, ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของ Metadata หรือข้อมูลที่มีการบอกรายละเอียดของข้อมูลอีกที




รูปที่ 1 ลักษณะของ Web 1.0 และ Web 2.0


รูปที่ 2 ลักษณะของ Web 3.0



· ความหมายของ Web 3.0
เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ผู้ใช้ทั่วไปที่เป็นผู้สร้างเนื้อหา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่น การเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการจัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata หรือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web หรือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่างๆ บนเว็บ ซึ่งในตอนนี้จะเห็นกันทั่วไปในรูปของ Tag นั่นเอง ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง Semantic Web คือ การรวมควบรวมกันของฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติโดยใช้การคาดเดา และหลักทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งผลลัพธ์ของ Application ที่สร้างขึ้นบน Semantic Web จะถูกส่งไปยังอินเทอร์เน็ต และส่งต่อไปยัง Web Browser เช่น Internet Explorer, Fire Fox เป็นต้น โดยเว็บเบราเซอร์ อาจจะถูกฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็นโทรทัศน์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่ถูกฝังเว็บเบราเซอร์ไว้ในตัวนั้นส่วนใหญ่จะสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้




รูปที่ 3 ตัวอย่างของ Web 2.0 Wikipedia

รูปที่ 4 โครงสร้างของ Web 3.0 (Semantic Web)


ส่วน Tag คือ คำสั้นๆ หลายๆ คำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา ทำให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาอื่นๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะต้องใส่ Tag เอง ตัวเว็บจะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น จากนั้นจะขึ้น Tags ให้ตามความเหมาะสมแทนโดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Apple ก็จะมี Tag ที่เกี่ยวกับ Computer, iPod, iMac … และ Tag ที่มีเนื้อหา Computer ก็มี Tag ที่เชื่อมโยงกับ Tag ที่มีเนื้อหาด้าน Electronic โดย จะเชื่อมโยงแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกัน อินเทอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น
แม้ว่าเว็บไซต์ใหญ่ๆ อย่าง Google, Amazon.com และ eBay ต่างก็ให้ความสนใจที่จะปรับเปลี่ยนไปใช้ Web 3.0 นอกจากนั้นก็ยังมีเว็บไซต์อีกมากที่จะปรับเปลี่ยนไปใช้ด้วยเช่นกัน เช่น WebEx, WebSideStory, NetSuite, Jamcracker, Rearden Commerce และ Salesforce.com รวมไปทั้ง Youtube, Flickr, MySpace หรือ del.icio.us เว็บไซต์ที่เป็น Web 3.0 ไม่ได้มีไว้ใช้งานเฉพาะเพื่อการช้อปปิ้ง ความบันเทิง หรือการค้นหาข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ได้ด้วย อีกทั้งยังจะเป็นการสร้างผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ในวงการออนไลน์ รวมทั้งยังสร้างผู้นำหน้าใหม่ ที่จะมามีอิทธิพลในอุตสาหกรรมออนไลน์ต่อไป

· ความสามารถของ Web 3.0 ในแง่มุมต่างๆ
API Services - การบริการ API (Application Programming Interface) ถือเป็นบริการขั้นพื้นฐาน อีกทั้งยังเป็นการบริการที่ได้เพิ่มพลังให้กับ Web 2.0 เเละจะเป็นเอนจิ้นให้กับ Web 3.0 ต่อไป ดังที่จะเห็นได้จากบริการค้นหาของ Google และ AdWords API, Amazon’s Affiliate APIs, RSS Feeds ที่ดูเหมือนจะเป็นขุมพลังของการดึงข้อมูลอย่างไม่มีวันจบ เว็บไซต์หลักอย่าง Google และ Amazon ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากกับผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่ง Web 3.0 จะ มาช่วยเพิ่มความสามารถใน การบริการให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้มีผู้ประกอบอื่นๆ ปรากฏตัวขึ้นมาเพิ่มขึ้น เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์และกำไร จากผู้ให้บริการทางออนไลน์รายใหญ่ๆ ซึ่งผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เหล่านี้ อาจจะเบียดให้ผู้เล่นรายเก่าตกชั้นไปเลยก็ได้
Aggregation Services - หรือบริการแบบรวมเป็นกลุ่ม โดยบริการ Aggregation ถือ เป็นบริการขั้นกลาง เป็นตัวกลางที่เอาข้อยุ่งยากในเรื่องของการสร้างความเชื่อมโยง และความสัมพันธ์ของแต่ละบริการที่อยู่ในกลุ่ม หรือในประเภทเดียวกัน เช่น ระบบฐานข้อมูล ออกจากการบริการ API ที่เป็นบริการในขั้นพื้นฐาน โดยจับเอาบริการมารวมกันให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ ได้แก่ RSS ที่ จะมีการดึงข้อมูลในหัวข้อที่ผู้ใช้สนใจ ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันจากเว็บอื่นๆ หรือข้อมูลใหม่ๆ ภายในเว็บไซต์ของตัวเองที่เกี่ยวข้องกับที่ผู้ใช้สนใจมาแสดงให้เห็น ทำให้เกิดความเชื่อมโยงของข้อมูลไปเรื่อยๆ และ เว็บเซอร์วิส ที่ให้บริการในรูปแบบของ Marketplaces หรือตลาดนัดออนไลน์ โดยฐานข้อมูลที่อยู่ในแต่ละ Marketplace จะถูกเชื่อมโยงกันทั้งหมด เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นพบสินค้าที่มีอยู่ในตลาด เช่น ถ้าคุณกำลังค้นหาเครื่องเล่น MP3 ก็จะมีข้อมูลทั้งเครื่องเล่น MP3 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่รองรับการใช้ไฟล์ MP3 ขึ้นมาด้วย ไม่ได้มีแค่ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเล่น MP3 เพียงอย่างเดียว เป็นต้น
Application Services - เป็นบริการในระดับสูงสุด และเป็นบริการที่เชื่อได้ว่ามีขนาดใหญ่มากที่สุดอีกด้วย มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน ซึ่งบริการในรูปแบบนี้จะไม่เหมือนกับ Application ที่เป็นที่รู้จัก และใช้งานกันมาแล้วอย่าง CRM หรือ ERP แต่จะเป็น Application ที่ ผสมผสานกันขึ้นมาใหม่ เป็นการนำการใช้งานจากหลายบริการ มาช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถใช้แนวทางศึกษาของตัวเองเพื่อสร้าง Application ใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น การนำเอาบริการด้านความบันเทิง มารวมกับบริการด้านการซื้อขายสินค้า ซึ่งก็จะทำให้คุณสามารถเลือกดูสินค้าได้ด้วยภาพแบบ 3 มิติ ซึ่งก็จะมีความสมจริงมากขึ้น รวมทั้งยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับที่คุณต้องการมาแสดงให้เห็นแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาข้อมูลใหม่อีกด้วยถือเป็นช่วงเวลาที่การค้นพบ Application ใหม่ๆ จะเริ่มต้นขึ้น และยังเป็น Application ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีพื้นฐานการคิดค้น และพัฒนามาจากคุณลักษณะของ Web 3.0 จนเกิดเป็น Web 3.0 Application ขึ้นมา
Serviced Clients - การบริการลูกค้า ถือเป็นภารกิจหลักสำหรับ Web 3.0 ซึ่งผู้ใช้ทุกคนต่างก็คาดหวังที่จะใช้ประโยชน์ และบริหารจัดการกับบริการที่อยู่บน Web 3.0 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสาเหตุที่ต้องเรียกว่า การบริการลูกค้า นั่นเป็นเพราะว่า ลูกค้าหรือผู้ใช้ โดยพื้นฐานต่างใช้ Web Browser หรือ เทคโนโลยีของวินโดวส์ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งก็คงไม่แปลกที่ทุกคนต่างต้องการที่จะทราบถึงบทบาทของไมโครซอฟท์ที่จะมา ให้บริการในรูปแบบของ Web 3.0 ด้วยเช่นกัน และเป็นไปได้ว่า ไมโครซอฟท์ จะทำให้ผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตใกล้ชิดกันได้มากขึ้น สัมผัสกันได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้ Web 3.0
ความสามารถของ Web 3.0 มีอยู่อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับมุมมอง และการนำไปใช้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า Web 2.0 คือ เครือข่ายของระบบปฏิบัติการ แต่ Web 3.0 จะปฏิบัติตัวเหมือนกับเป็น Application เพียง Application เดียว ที่มีคุณลักษณะหลากหลาย โดยมีหลายๆ ระบบปฏิบัติการอยู่ในนั้น การมาของ Web 3.0 ได้ สร้างสนามแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ให้กับนักพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาเกม ที่จะต้องทำให้ผู้เล่นหลายๆ คน สามารถเล่นเกมจากออนไลน์ได้ในเวลาเดียว ด้วยการแบ่งปันสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่ในแบบ Real-time สามารถสื่อสารกันได้แบบ Real-time มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เล่นได้รู้สึกสนุก และรู้สึกเล่นเกมได้สมจริงยิ่งกว่าเดิม สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Web เวอร์ชั่นไหนก็ตาม แต่ Web ก็ยังเป็น ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร อยู่นั่นเอง
Web 3.0 ถือ ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ของอินเทอร์เน็ตที่กำลังจะมาถึงในเวลาอันใกล้นี้ ด้วยคุณลักษณะเด่นในการจัดการข้อมูลได้จำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็น “The Intelligent Web” หรือว่าเว็บอัจฉริยะ
Web 3.0 ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากปริมาณของข้อมูลใน Web 2.0 มีขนาดใหญ่มากขึ้น เว็บจึงต้องมีระบบในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) โดย เว็บจะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นให้เราเอง ทำให้เกิดความเชื่อมโยงของข้อมูลถึงกันด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงทำให้เนื้อหานั้นๆ ถูกเชื่อมโยงอย่างมีระเบียบมากขึ้นเหมือนระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่
ประโยชน์จากการใช้ Web 3.0 นั้น มี 2 ส่วน คือ ด้านเจ้าของเว็บ ที่จะช่วยลดภาระในการจัดเก็บหรือเชื่อมโยงเนื้อหาบนเว็บที่มีขนาดใหญ่ และด้านผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เข้าถึงเนื้อหาหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น ดังนั้น Web 3.0 น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการต่อยอดและเป็นการจัดระเบียบของ Web 2.0 มากกว่าการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ทั้งหมด และในแง่ของคนที่ทำเว็บหากต้องการปรับไปใช้ Web 3.0 คงต้องศึกษารูปแบบการพัฒนาใหม่มีการปรับระบบหลังบ้านเพื่อรองรับระบบใหม่นี้

· จุดเด่นของ Web 3.0
จุดเด่นของ Web 3.0 คือ ความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้ โดยเฉพาะเมื่อเนื้อหามีความหลากหลายมากขึ้น มีการแบ่งหมวดหมู่ต่างๆ มากขึ้น ซึ่ง Web 3.0 จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้เห็นภาพชัดเจน รวมถึงลิงก์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ช่วยเพิ่มโอกาสให้มีคนเข้าชมหน้าเว็บของเราหรือเนื้อหาของเราได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บ ขณะเดียวกันก็จะทำให้เข้าถึงความต้องการแต่ละบุคคลได้มากขึ้น ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น นอกจากการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้นเนื่องจาก Web 3.0 มีปริมาณความจุที่สามารถรองรับข้อมูลได้มากกว่าเดิม มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ บนเว็บ
ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายและดีเยี่ยมในการใช้ Web 3.0 เพื่อสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าคือ Apple.com รูปสินค้าที่เสนอขายบนเว็บไซต์ของ Apple ทุกรูป จะเห็นข้อความสั้นๆ ปรากฏขึ้นเพื่ออธิบายสินค้าเพียงแค่ชี้เม้าท์ ไม่จำเป็นต้อง click และรอดาวน์โหลดอีกกว่านาทีจึงจะทราบข้อมูลของสินค้าตัวนั้น หรือแม้แต่แคตตาล็อกออนไลน์ของ Amazon ก็เริ่มนำกลยุทธ์นี้มาใช้เพื่อเรียกลูกค้า


รูปที่ 5 Apple.com ตัวอย่างของการใช้ web 3.0 ในการนำเสนอขายสินค้าบนเวบไซส์



· เทคโนโลยีที่คาดว่าจะนำไปใช้ใน Web 3.0
1. Artificial Intelligence (AI) คือ เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยคาดเดาพฤติกรรมของมนุษย์ ช่วยวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งการคิดค้นเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาช่วยในการทำงานอย่างอัตโนมัติ
2. Automated Reasoning คือ การสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้มีการประมวลผลด้วยความชาญฉลาด สมเหตุสมผลอย่างอัตโนมัติ โดยใช้ตรรกะ และหลักการทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ และประมวลผล
3. Cognitive Architecture ถือเป็นแผนงานสำหรับ Intelligent Agents ด้วยการนำเสนอระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานเหมือนกัน มีรากฐานมาจากที่เดียวกัน โดยอาจจะสร้างเครื่องมือในโลกเสมือนขึ้นมาให้ใช้งานได้เหมือนกับการทำงานในโลกของความเป็นจริง เช่น การสร้างสมองกล (Computer) ขึ้นให้ใช้งานเหมือนกับสมองของคน (Brain) จริงๆ
4. Composite Applications เป็น Application ที่สร้างขึ้นมาจากการผสมผสานบริการ หรือ Application ที่ หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน โดยเป็นบริการที่มาจากแหล่งต่างๆ ที่อาจจะเป็นบริการแบบเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะสร้างประโยชน์ และประสิทธิภาพในการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น
5. Distributed Computing คือ การใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไปที่สามารถสื่อสารถึงกันได้บนเครือข่ายเข้ามาช่วยกันประมวลผล โดยวิธีการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะใช้ส่วนที่แตกต่างกันของโปรแกรมเข้ามา ช่วยประมวลผลในการทำงาน ซึ่งอินเทอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง และยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
6. Human-based genetic algorithms คือ กระบวนการที่อนุญาตให้มนุษย์สามารถสร้างโซลูชั่น หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เอง ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถเชื่อมโยงกันตั้งแต่แรกเริ่ม, สามารถเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวพันถึงกันได้ โดยการเชื่อมโยงกันสามารถทำได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ความต้องการ
7. Knowledge Representation เป็นวิธีการในโปรแกรมระบบที่ใช้การเข้ารหัสและเก็บความรู้ไว้ในฐานความรู้
8. Ontology Language หรือ OWL ย่อมาจาก Web Ontology Language คือภาษาที่ใช้อธิบายถึงข้อมูลในเว็บไซต์ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ โดยดูจากความหมายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งถือว่า OWL เป็นภาษากลางในการกำหนด metadata ให้กับเว็บไซต์แต่ละแห่ง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
9. Scalable Vector Graphics (SVG) เป็นฟอร์แมต XML ที่นิยามวัตถุในภาพวาดด้วย point, path และ shape พื้นฐาน โดยมีสี, ฟอนต์, ความกว้างของ stroke ฯลฯ เป็นสไตล์ของวัตถุ จุดประสงค์ของ SVG คือเป็นมาตรฐานที่ใช้ได้กว้างขวางในหลากหลายโปรแกรม




รูปที่ 6 Scalable vector graphics


10. Semantic Web เป็น เว็บที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของข้อมูลที่อยู่บนหน้าจอของเว็บไซต์ช่วย ให้คอมพิวเตอร์สามารถค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ใหม่ให้กับข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่มาจาก แหล่งข้อมูลที่ต่างกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นฐานข้อมูลที่ถูกเชื่อมโยงกันทั่วโลก
11. Semantic Wiki สามารถ ให้ข้อมูลเฉพาะคำที่เราต้องการได้ ด้วยการใช้การอธิบายข้อมูลซ้อนข้อมูลอีกที รวมทั้งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราต้องการ โดยข้อมูลที่นำมาอธิบายอาจจะมาจากเว็บอื่นๆ ไม่ได้มาจากฐานข้อมูลของเว็บนั้นเพียงอย่างเดียว
12. Software Agent เป็น โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่างๆ อย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น เอเจนต์ในระบบขับรถอัตโนมัติ ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ จึงจะเรียกได้ว่า เอเจนต์กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ก็ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้
หลังจากที่แนวคิดของ Web 2.0 ใช้ได้ผลอย่างจริงจังกับการเกิดบล็อกขึ้นมากมายหลาย 10 ล้านบล็อกและเกิดเว็บใหญ่ๆ ที่มี User's Content Driven อีกหลายแห่ง วันนี้จึงมีการหยิบยกทฤษฎีของ Web 3.0 มาพูดคุยกันบ้างแล้ว จากการที่ Web 2.0 จะ มีข้อมูลมากมายมหาศาลอย่างที่โลกนี้ไม่เคยพบมาก่อน ก็จะต้องมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยุติธรรม และเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเกิดเป็นแนวคิดหลักของทฤษฎี Web 3.0 ขึ้น

· Update question about Web 3.0
Web 3.0 คล้ายกับอะไร
ตอบ : บางครั้ง Web 3.0 จะถูกเรียกว่า Semantic Web หรือ เว็บที่มีการควบรวมกันของฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อเราต้องการทราบตารางตรวจของทันตแพทย์ที่อยู่ใกล้บ้านในระยะทาง 5 กิโลเมตร ว่ามีคลินิกไหนบ้าง และมีตารางตรวจวัน และเวลาไหน เพียงแค่ใส่ข้อมูลที่ต้องการว่า “คลินิกทันตกรรม เวลาตรวจ ระยะทาง 5 กิโลเมตร” ลง ไป เว็บไซต์จะทำการประมวลผลและสามารถให้คำตอบอย่างตรงจุด โดยข้อมูลจะทำการนำเสนอออกมาอย่างเป็นระเบียบ ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการภายในเวลารวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการนั่งคัดกรองข้อมูลเหมือนปัจจุบัน

ทำไมต้อง Web 3.0
ตอบ : หลังจากที่แนวคิดของ Web 2.0 ใช้ได้ผลอย่างจริงจังกับการเกิดบล็อกขึ้นมากมายหลาย 10 ล้านบล็อกและเกิดเว็บใหญ่ๆ ที่มี User's Content Driven อีกหลายแห่ง จึงมีการหยิบยกทฤษฎีของ Web 3.0 มาพูดคุยกันบ้างแล้ว จากการที่ Web 2.0 จะ มีข้อมูลมากมายมหาศาลอย่างที่โลกนี้ไม่เคยพบมาก่อน ก็จะต้องมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยุติธรรม และเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเกิดเป็นแนวคิดหลักของทฤษฎี Web 3.0 ขึ้น โดย ทฤษฎี Web 3.0 จะแปรเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดที่จะนำมาใช้ออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบใหม่กัน ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราค้นหาข้อมูลและพบว่า search engine เป็น เพียงแค่การหาข้อมูลที่มีคำที่เราใช้ค้นขึ้นมาโชว์เป็นหน้าเว็บเพจทั้งหมด โดยบางทีหน้าเว็บเพจนั้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เราต้องการ เว็บไซต์ที่ใช้ทฤษฎี Web 3.0 จะ ช่วยให้เว็บไซต์สามารถจัดการคอนเทนท์ที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบมากยิ่ง ขึ้น จากปัญหาที่เราค้นหาข้อมูลและพบว่าได้ข้อมูลเกินกว่าความต้องการ หรือข้อมูลที่ได้มาต้องมีการคัดกรองทุกครั้งก่อนเลือกใช้ก็จะหมดไป เพราะ Web 3.0 จะช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างฉลาดขึ้น สามารถคิดต่อยอดจากความต้องการของผู้ใช้ได้ และทำให้เว็บไซต์มีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากขึ้น Web 3.0 นำไปใช้ประโยชน์ด้านไหนได้บ้าง
ตอบ : รูปแบบของ Web 3.0 จะส่งผลให้ Web Service มี ประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น สามารถดึงเอาข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดกรองข้อมูลโดยการเข้าไปดูแต่ละหน้าเว็บเพจ ยกตัวอย่างเช่น Amazon ที่ได้พัฒนาเว็บโดยเอาเทคโนโลยีของ Web 3.0 เข้า มาช่วยในการให้บริการดูข้อมูลหนังสือบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเปิดเข้าไปหน้าเฉพาะของสินค้านั้น ก็สามารถทราบข้อมูลของสินค้านั้นได้เพียงแค่นำเมาส์ไปชี้ที่ชื่อสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ Web 3.0 หากนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้เพื่อการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต (E-learning) ก็ได้ด้วย นั่นคือ การผสมผสานของเทคโนโลยี Semantic Markup และ Web Service เข้าด้วยกัน หรือเราเรียกว่า Semantic Web ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้การทำงานของการจัดรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปของ Metadata ซึ่งหมายถึง ข้อมูลหนึ่งสามารถจะบอกรายละเอียดของอีกข้อมูลได้ และประมวลผลหาคำอธิบายเฉพาะ (Managed Identity) ของ ข้อมูลได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ได้ค้นหาและเจอองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้ถูกปิดเอาไว้ เกิดการเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นจากการ ศึกษาจากข้อมูล


Blog พร้อมใช้ Web 3.0 หรือยัง
ตอบ : Web 3.0 จะทำให้ Web Service ทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ฉลาดมากขึ้น จากแต่ก่อนเราอ่านข้อมูลบนเว็บที่มีเฉพาะข้อความ แต่ในอนาคตเว็บไซต์ที่เป็น Web 3.0 จะทำให้หน้าตาและการทำงานเว็บไซต์แปลกและมหัศจรรย์ขึ้นอย่างมาก รวมถึงเว็บบล็อกด้วย Web 3.0 จะ ช่วยให้ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนเว็บบล็อกในแต่ละแห่งรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถหาเว็บบล็อกที่เขียนเรื่องที่เราต้องการอ่านได้ง่ายขึ้นโดยไม่ ต้องค้นหาทีละเว็บบล็อก การเปลี่ยนแปลงของเว็บไซต์ครั้งใหญ่นี้ มี 2 ทางเลือกให้แก่บล็อกที่จะเลือกใช้ อย่างแรก คือ ทำเว็บบล็อกโดยใช้ API (Application Programming Interface) เป็นตัวจัดการระหว่างเว็บไซต์และผู้ใช้ในทางที่ต้องการทั้งหมด หรือแต่ละเว็บบล็อกเปิดเผยบางส่วนของ API เพื่อให้มีการเชื่อมโยงกันของแต่ละบล็อกง่ายขึ้น


Web 3.0 มีผลต่อบล็อกเกอร์อย่างไร
ตอบ : ปัญหาใหญ่ของบล็อกเกอร์ที่จะเจอกับ Web 3.0 นั่น คือ การอาจเจอข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ของบทความที่นำมาลงในเว็บบล็อก หากมีการนำไปเผยแพร่ในสื่ออื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะการทำงานของ Web 3.0 จะดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากมาแสดงจนในบางครั้งอาจไม่ทราบว่าบทความนี้แท้จริงเป็นของผู้เขียนคนไหน แต่ข้อดีคือ คุณสามารถใช้ Blog เข้ามาช่วยในการทำตลาดได้มากขึ้น ทำให้เป็นที่รู้จัก และเรียกคนเข้ามาที่ Blog ของ คุณได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะข้อมูลทั้งหมดที่คุณมีอยู่ จะถูกเชื่อมโยงไว้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตทั้งหมด ไม่ได้อยู่แบบโดดเดี่ยวอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนทั้งโลกคลิกเข้ามาหาคุณได้มากขึ้น ถูกค้นพบได้ง่ายขึ้น

Reference

· http://www.ecommerce-magazine.com/
· http://lab.tosdn.com/?p=63
· http://www.computers.co.th/blog/?p=7
·http://www.ecommercemagazine.com/index.php?option=com_content&task=view&id=876&Itemid=58
· http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/301/
· http://www.webdesign.co.th/article/web3-0.html
· คุณสุมาลี ศาลาสุข , Web 3.0 วิวัฒนาการแห่งการสร้างเวบไซส์ , ศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (เนคเทค)

1 ความคิดเห็น: